ผู้บริหาร คือ ผู้มีศิลปะในการใช้คนให้ทำงานให้ตน จนประสบความสำเร็จและมีความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ 3 ส่วน คือ
- Direction ผู้บริหารคือ ผู้ที่มีหน้าที่ในการสร้างวิสัยทัศน์และแนวทางเดินที่ชัดเจน
- Motivation ผู้บริหารคือ ผู้ที่สามารถสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นทีมงานได้
- Organization ผู้บริหารคือผู้ที่สามารถบริหารจัดการทั้งทีมงานและควบคุุมการเดินทางไปสู่ความสำเร็จได้
ดังนั้น พอสรุปได้ว่าผู้บริหารคือผู้ที่นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ โดยมีวิสัยทัศน์และแนวทางที่ชัดเจน ด้วยการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้แก่ทีมงาน
ประโยชน์ของการประกันชีวิตผู้บริหาร ในด้านของบริษัท
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อเป็นสวัสดิการเพิ่มเติม
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อเพิ่มรายจ่าย เพื่อลดกำไร ทำให้เสียภาษีนิติบุคคลน้อยลง
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อลดรายจ่ายต้องห้าม ดีกว่าการสร้างรายจ่ายที่เป็นรายจ่ายต้องห้าม
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อกำหนดมาตรฐานทางบัญชีให้เหมาะสม กำไรต่อยอดขายไม่สูงเกินไป สำหรับกิจการที่ไม่ค่อยมีค่าใช้จ่าย
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อลดเงินกู้ยืมกรรมการ บางกิจการเจ้าของนำเงินบริษัทไปซื้อทรัพย์สิน ใช้จ่ายส่วนตัว ทำให้มีปัญหาเงินกู้ยืมกรรมการ ดังนั้นแทนที่จะซื้อประกันชีวิตส่วนตัว ก็ทำเอกสารให้เป็นบริษัทจ่ายให้ เงินคืนตามเงื่อนไขซึ่งไม่ต้องเสียภาษี ก็นำมาคืนให้กับบริษัท ลดบัญชีเงินกู้กรรมการ
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อคุ้มครองภาระหนี้สิน กรณีกิจการใช้สินเชื่อธนาคาร ซึ่งมักจะต้องนำทรัพย์สินไปค้ำประกันวงเงินกู้
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อวางแผนการเงินของกิจการ หากผู้บริหารหรือคีย์แมนเสียชีวิต กิจการอาจประสบปัญหายอดขายตก ผู้บริหารคนใหม่อาจต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหา ซึ่งหากมีเงินสดสำรองไว้ในระบบ จะช่วยแก้ปัญหาได้
ประโยชน์ของการประกันชีวิตผู้บริหาร ในด้านของกรรมการบริษัท
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อสะสมทรัพย์ เป็นการออมเงินในอนาคตไว้ใช้จ่ายเอง หรือเป็นทุนการศึกษาบุตร
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อกระจายการลงทุน
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อวางแผนการเงิน เพื่อการเกษียณ
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อคุ้มครองหนี้สิน
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อวางแผนมรดก โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางศาลให้ยุ่งยาก
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
- ประกันชีวิตผู้บริหาร เพื่อวางแผนภาษี โดยลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละ 100,000 บาท
ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล
การเปลี่ยนภาษีนิติบุคคล ให้กลับกลายเป็นรายได้ เปลี่ยนรายจ่ายให้กลายเป็นสวัสดิการในรูปเงินออมพร้อมความคุ้มครองของกรรมการบริษัท โดยถูกต้องตามกฏหมายและเป็นที่ยอมรับจากสรรพากร เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้อง ดำเนินการ
หน้าที่ของฝ่ายบัญชี ในการจัดทำบัญชีรายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ซึ่งจะต้องหาวิธีการที่จะลดภาระภาษีให้มากที่สุด โดยการหาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเพื่อการเสียภาษีที่น้อยลง และจะดีแค่ไหนถ้าเสียภาษีปีละ 10ล้านแต่ได้คืนมา 3 ล้าน ด้วยวิธีซื้อสินค้าที่เป็นเงินสดที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้
วิธีการวางแผนลดหย่อนภาษีนิติบุคคล
การซื้อประกันชีวิตให้กรรมการ เป็นทางเลือกหนึ่งด้วยวิธีการนำเอาผลกำไรไปแปลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ในรูปแบบ ของกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยนำกรมธรรม์ประกันชีวิตไปเป็นเครื่องมือในการจัดระบบภาษีให้กับนิติบุคคล ซึ่งนำไปเป็นรายจ่ายได้ 100% ตามที่จ่ายจริง และไม่เสียเปล่า ทั้งนี้ยังเป็นช่องทางที่ถูกต้องตามกฏหมาย และกรมสรรพากรยอมรับ พอจะสรุปดังนี้
- เป็นการใช้รายได้ของนิติบุคคล (บริษัท) ชำระเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ/พนักงาน เพราะบริษัทนำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ (ตัดเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้)
- บริษัทเสียภาษีนิติบุคคลลดลง เพราะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากเบี้ยประกันชีวิตที่เป็นค่าสวัสดิการพนักงานและกรรมการบริษัท ซึ่งสามารถนำไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ซึ่งตัวกรมธรรม์ประกันชีวิตก็จะกลายเป็นเงินออมให้กับ พนักงานตลอดสัญญา ประกอบกับระหว่างอายุกรมธรรม์ พนักงานของบริษัทยังได้รับความคุ้มครองอีกด้วย
- เป็นการจ่ายเงินผ่านระบบของบัญชีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
นี่คือวิธีการประหยัดภาษี โดยนำเอาเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทออกให้กรรมการ ไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ได้หลายทาง
ประกันKEY MAN เพื่อประหยัดภาษี
ท่านเห็นด้วยไหมว่า....หัวใจที่สำคัญที่สุดก็คือ "ผู้ที่ทำเงินให้กับธุรกิจของท่าน นั่นก็คือกลุ่มKEY MAN คู่หูคู่ใจและมือซ้ายมือขวา ในบริษัทท่านนั่นเอง ซึ่งหากบุคคลเหล่านี้เกิดอะไรขึ้น จะมีผลกระทบกับธุรกิของท่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ...อย่าปล่อยให้โอกาสในการลงเงินเพื่อคุ้มครองคีย์แมนพร้อมรับผลประโยชน์ตอบกลับในรูปแบบภาษีลอยนวล (สำหรับ บริษัทฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม)
บางบริษัทประหยัดได้ 15 ล้านบาทต่อปี
บริษัทฯ มีสิทธิ์นำเงินออมที่ออกให้นั้น มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ทั้งหมดไม่จำกัด โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ถือเป็นโอกาสดีที่ทางบริษัทฯ ประหยัดเงินทุนหมุนเวียนได้ปีละ หลายล้านบาท ซึ้งถูกต้องตามกฎหมาย สรรพากรยอมรับ และไม่มีความเสี่ยงเพราะมีกรมธรรม์ที่ถูกควบคุมโดยกฎหมายของกรมการประกันภัย ที่จะต้องจ่ายเต็มตามเงื่อนไขที่ระบุ เมื่อเทียบกับการนำเงินฝากธนาคารแล้ว ให้ผลตอบแทนสูงกว่าหลายเท่า การฝากเงินกับธนาคารปัจุบันถือว่ามีความเสี่ยง เพราะกฎหมายใหม่ที่ออกมา รัฐบาลค้ำประกันแค่ไม่กี่ล้านเท่านั้น แถมผลตอบแทนก็ต่ำ และไม่มีผลประโยชน์ทางด้านประหยัดภาษี
ตัวอย่าง ง่ายๆถ้าทางบริษัทฯ แบ่งเงินออมปีละ 30,000,000 บาท ก็จะประหยัดเงินค่าภาษีปีละ 9,000,000 บาท (30 ล้าน คูณ อัตราภาษีนิติบุคคล 30% ) ถ้ามองในแง่ของเม็ดเงินที่จ่ายออกไป 30 ล้านบาท เงินยังไม่หายไปใหน แต่จะได้คืนเต็มจำนวน พร้อมดอกเบี้ย และเงินปันผลเมื่อครบกำหนดตามที่ระบุในกรมธรรม์ เมื่อเปรียบเทียบกับการนำเงินฝากธนาคาร ให้ผลตอบแทนสูงกว่า หลายสิบเท่า (ภาษีที่ประหยัดได้ + เงินปันผลรับ + ดอกเบี้ยรับ + ผลประโยชน์อื่น) โครงการนี้เป็นการประยุกต์ กฏหมายสรรพากรให้เข้ากับวิธีการบริหารภาษี -มีกฏหมายรองรับตรวจสอบได้ที่เว็บไซด์สรรพากร (ตามหนังสืออ้างอิงเลขที่ กค.0706/4227,กค.0811/408 www.rd.go.th) สรรพากรสามารถเก็บภาษีในระบบได้มากขึ้น(เหมือนหวยบนดิน)
กลยุทธการบริหารภาษี ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติว่าบริษัทท่านมียอดขาย = 450,000,000 บาท/ปี หักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ = 350,000,000 บาท/ปี เหลือกำไรก่อนหักภาษี = 100,000,000 บาท/ปี
ถ้าบริษัทหรือห้างร้านท่านต้องเสียภาษี 30% ของกำไร เป็นเงินค่าภาษีนิติบุคคล = 100,000,000 x 30% เท่ากับ 30,000,000 บาท ท่านจะเหลือกำไรหลังหักภาษีแล้ว = 70,000,000 บาท
ข้อดีจากโครงการนี้
(1) หากท่านสามารถนำเอาเงิน 30,000,000 บาทที่ท่านจะต้องไปจ่ายให้กับสรรพากรจำนวนนี้ไปลงทุนในรูปแบบของการออมแล้วท่านจะได้สิทธิในการนำไปหักเป็นค่ารายจ่ายในการคำนวนกำไรก่อนหักภาษีได้ตามกฏหมาย ตามหนังสืออ้างอิงเลขที่ กค.0706/4227, กค.0811/408 www.rd.go.thจากเดิมท่านมีรายจ่ายในการคำนวนภาษี = 350,000,000 บาทหลังจากเข้าร่วม
โครงการนี้แล้วรายจ่ายของท่านจะกลายเป็น 380,000,000 บาท ฐานกำไรในการคำนวนภาษีจะกลายเป็น 70,000,000 บาท เพราะฉะนั้นภาษีที่ท่านต้องจ่าย = 70,000,000 x 30% = 21,000,000 บาท จากโครงการนี้ทำให้ท่านประหยัดภาษีทันที 30,000,000 - 21,000,000 = 9,000,000 บาท/ปี
(2) เงินจำนวน 30,000,000 บาท ที่นำไปลงทุนในรูปแบบการออมจะมีผลตอบแทนดังนี้ มีความคุ้มครองให้กับเจ้าของกิจการ 4 - 10 เท่าของเงินที่นำมาออม(4 x 30,000,000 = 120,000,000 บาท) หากเจ้าของกิจการเสียชีวิตและยกเว้นไม่ต้องนำมาคิดภาษีบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
(3) มีเงินคืนทุกปีตามเงื่อนไขการคุ้มครองอย่างน้อย 2 % ของความคุ้มครอง(120,000,000 x 2% = 2,400,000 บาท) และได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคิดภาษีบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
(4) มีเงินปันผลทุกปีจากการลงทุน 2-10% ไม่นำมาคิดภาษีบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
(5) รูปแบบการบริหารภาษีที่ว่านี้มีหลากหลายแล้วแต่จุดประสงค์ของเจ้าของเป็นหลัก
แต่นอกเหนือจากผลประโยชน์ในรูปตัวเงินแล้ว หัวใจที่สำคัญที่สุดก็คือ "ผู้ที่ทำเงินให้กับธุรกิจของท่าน นั่นก็คือกลุ่มKEY MAN คู่หูคู่ใจและมือซ้ายมือขวา ในบริษัทท่านนั่นเอง ซึ่งหากบุคคลเหล่านี้เกิดอะไรขึ้น จะมีผลกระทบกับธุรกิของท่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ...อย่าปล่อยให้โอกาสในการลงเงินเพื่อคุ้มครองคีย์แมนพร้อมรับผลประโยชน์ตอบกลับในแง่ของภาษีกลับคืนสู่บริษัทของท่าน อย่าทำเงินร่วงหล่นหาย
ปัญหาของบริษัทฯ ส่วนใหญ่ที่สรรพากรไม่ให้ คือ มีการเลี่ยงภาษี กลัวการตรวจสอบ เท่านั้นเอง แต่สำนักงานบัญชียื่นภาษีกับสรรพากรอยู่แล้ว มีความสนิทสนมกันเป็นโอกาสอย่างดีเลยพี่
เลี่ยงภาษีแบบผิดกฎหมายทำไม? มาประหยัดภาษีแบบ
ถูกกฎหมายกันดีกว่า
|