"สรรพากร ยืนยันการ ประกันชีวิตแบบบำบาญ จะมีผลบังคับใช้ได้กับเงินได้ปี 2553 นี้ "
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ให้ความเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการออมในรูปแบบของประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Product) โดยให้มีการเพิ่มวงเงินการให้ หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็น 300,000 บาท นั้น นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะสามารถนำมา หักลดหย่อนได้นั้น จะต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และได้ทำสัญญาไว้กับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทย และจะต้องไม่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ให้กับ ผู้ เอาประกันในระหว่างปีหรือช่วงเวลาที่ ผู้เอาประกันได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิต หรือก่อนกรมธรรม์มีอายุครบสัญญา และเมื่อผู้เอาประกันอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี จะได้รับเงินคืน ( บำนาญ ) เป็นรายงวดเท่า ๆ กัน อย่างสม่ำเสมอจนถึงอายุ 85 ปีหรือมากกว่า นอกจากนั้น เงินบำนาญหรือเงินคืนที่ได้รับต้องไม่มีลักษณะเป็นเงินก้อนหรือเงินอื่นที่คำนวณจากทุนประกัน โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินบำนาญคืนเมื่อได้ชำระเบี้ยประกันครบตามสัญญาแล้วสำหรับวงเงินส่วนที่ให้หักลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นจำนวน 200,000 บาทนั้น ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนประเภทเดียวกันประเภทอื่น ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยง ชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วต้อง ไม่เกิน 500,000 บาท แม้ว่าร่างกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา แต่มาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป "