|
ความสะดวกในการจ่ายเงิน |
- โดยปกติในกรมธรรม์ประกันชีวิตประเภทอุตสาหะจะระบุเงื่อนไขชดใช้เงินเอาประกันภัยให้แก่ทายาทหรือผู้มีสิทธิ์ซึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และค่าทำศพของผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้เพื่อความสดวกในการจ่ายเงินของผู้รับประกันภัย |
*** |
กรมธรรม์เพื่อรายได้ครอบครัว |
- กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบประสมระหว่างแบบสามัญกับแบบชั่วระยะเวลาลดเงินเอาประกันภัย (decreasing term insurance) ซึ่งกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง 10, 15 หรือ 20 ปีตามแต่จะตกลง ถ้าผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมลง บริษัทจะจ่ายเงินเอาประกันภัยให้ 2 จำนวน คือ ก. เงินได้ประจำ เริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ถึงแก้กรรม จนถึงวันที่สัญญาแบบชั่วระยะเวลาครบกำหนด เช่น กรมธรรม์คุ้มครองระยะเวลา 10 ปี ถ้าผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมในปีที่ 5 บริษัทจะจ่ายเงินได้ประจำให้ไปอีก 5 ปี ข. จำนวนเงินเอาประกันภัย จ่ายให้เมื่อการจ่ายเงินได้ประจำครบกำหนดตามข้อ ก. แล้วหรือจ่ายทันทีที่ถึงแก่กรรม |
*** |
กรมธรรม์เพื่อค้ำจุนครอบครัว |
- กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบประสมระหว่างแบบสามัญและแบบชั่วระยะเวลา (term policy) ซึ่งกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง 10, 15 หรือ 20 ปี ถ้าผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมลง บริษัท จะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ 2 จำนวน คือ ก. เงินได้ประจำ เริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ถึงแก่กรรมจนครบจำนวนปีในสัญญา เช่น กรมธรรม์คุ้มครองระยะเวลา 10 ปี ถ้าผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมในปีที่ 5 บริษัทจะจ่ายเงินได้ประจำให้ไปอีก 10 ปี นับจากวันที่ถึงแก่กรรม ข. จำนวนเงินเอาประกันภัย จ่ายทันทีที่ถึงแก่กรรมหรือเมื่อครบกำหนดที่ระบุไว้ |
*** |
กรมธรรม์แบบคุ้มครองทั้งครอบครัว |
- กรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองบุคคลในครอบครัวคือ สามี ภรรยา และบุตรทุกคนที่อายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์ แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยของภรรยาและบุตรจะน้อยกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยของสามีซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย |
*** |
การประกันชีวิตแบบกำหนดเวลา |
- การประกันชีวิตแบบหนึ่งที่ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินเอาประกันภัยให้เมื่อถึงเวลาตามที่กำหนดไว้ โดยไม่คำนึงว่า ผู้เอาประกันภัยจะมีชีวิตรอดอยู่หรือไม่ และหากผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมก่อน ก็ไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยต่อไป |
*** |
การเสียสิทธิ์ |
- การสูญเสียสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย |
*** |