|
|
- การขายกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่พนักงานของหน่วยงานโดยนายจ้างจะหักเงินเดือนของพนักงานทุกเดือนเป็นค่าเบี้ยประกันภัย เพื่อชำระให้ผู้รับประกันชีวิต |
*** |
|
- การประกันชีวิตเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษา โดยจะจ่ายให้เมื่อกรมธรรม์ประกันชีวิตครบกำหนดตามสัญญาหรือเมื่อผู้เอาประกันชีวิถึงแก่กรรม (ดู educational insuranceประกอบ) |
*** |
|
- ตารางมรณวิสัยที่รวบรวมข้อมูลจากจำนวนผู้เริมเอาประกันภัย ซึ่งได้ผ่านการคัดเลือภัยมาใหม่ๆ การคัดเลือกที่มีมาตรการในการตรวจสอบโดยผ่านการตรวจสุขภาพและการตรวจสอบอื่นๆแล้ว จะมีอัตราการตายต่ำ เช่น ผู้มีอายุ 30 ปี ที่เริ่มเอาประกันภัยจะมีอัตราการตายต่ำกว่าผู้มีอายุ 30 ปี ที่เอาประกันภัยเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ตารางมรณวิสัยนี้จะแสดงทั้งอัตราการตายในแต่ละอายุและระยะเวลา โดยปรกติ ตารางมรณวิสัยคัดเลือกนี้เป็นตารางมรณวิสัยที่ผู้รับประกันภัยใช้ในการคำนวณเงินสำรอง หรือใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ อัตรามรณช่วงคัดเลือกจะใช้เวลายาวนาน 10-15ปี แต่ในทางปฏิบัติกำหนดไว้5 ปี เมื่อช่วงคัดเลือกสิ้นสุดแล้วอัตรามรณะช่วงต่อไปเรียกว่า Ultimate Mortality Table ซึ่งจะนำไปใช้ในการประเมินหนี้สิน และใช้กับอัตราเบี้ยประกันภัยชนิดมีเงินปันผล |
*** |
|
- ส่วนเกินของทรัพย์สินที่มากกว่าหนี้สินในเงินกองทุนประกันภัย อันเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น |
*** |
|
- เบี้ยประกันภัยที่ชำระทั้งหมดในคราวเดียวเมื่อเริ่มทำสัญญาประกันชีวิตและมีผลให้ความคุ้มครองจนตลอดอายุสัญญา |
*** |
|
- ค่าบำเหน็จนายหน้าที่เพิ่มขึ้นตามปัจจัยบางอย่าง โดยเฉพาะอัตราค่าบำเหน็จที่เพิ่มขึ้นตามกำไรของสัญญาประกันภัยต่อ |
*** |
|
- โครงการของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการในเรื่องการจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่บุคคลในกรณีต่างๆ เช่น ความชรา ความเจ็บไข้ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ความตาย หรือการว่างงาน เงินผลประโยชน์นี้จะจ่ายจากเงินกองทุนที่รวบรวมจากสมาชิกซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหรือนายจ้างของบุคคลเหล่านั้น โดยทั่วไปการเข้าร่วมในโครงการประกันสังคมนี้จะเป็นการบังคับ |
*** |
|
- มาตรการต่างๆที่ดำเนินการโดยรัฐบาลที่ให้ความคุ้มครองช่วยเหลือบุคคลจากการขาดรายได้และในยามที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มาตรการหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ การประกันสังคม |
*** |
|
- เงินปันผลพิเศษที่ให้แก่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบมีเงินปันผลนอกเหนือจากที่จ่ายตามปรกติธรรมดาแต่ก็มักจะไม่ค่อยปรากฏ |
*** |
|
- บุคคลที่มีสุขภาพต่ำกว่ามาตรฐานของบุคคลทั่วไป มาตรฐานนี้ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้กำหนดไว้ |
*** |
|
- เงื่อนไขเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายซึ่งระบุไว้ในกรมธรรม์ว่า หากผู้เอาประกันภัยได้ฆ่าตัวตายด้วยใจสมัครภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา ผู้รับประกันภัยจะไม่ต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลนั้น ในบางประเทศ ถ้าผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายภายใน 2 ปี นับจากวันที่ออกกรมธรรม์ ผู้รับประกันภัยจะรับผิดเพียงคืนเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้วให้ |
*** |
|
- จำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์แบบกำหนดผลประโยชน์ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายเมื่อมีเหตุการณ์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดขึ้น หรือถ้าเป็นการประกันภัยแบบชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ก็คือจำนวนเงินสูงสุดที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิด |
*** |
|
- กรมธรรม์ประกันภัยสินเชื่อที่คุ้มครองจำนวนเงินค่าบริการครบกำหนดจ่าย |
*** |
|
- ส่วนเพิ่มพิเศษนอกเหนือจากค่าบำเหน็จกำไรทั่วไปที่จ่ายตามสัญญาประกันภัยต่อ |
*** |
|
- หน่วยงานของรัฐบาลหรือเจ้าพนักงานรัฐที่ทำหน้าที่ตรวจตราการดำเนินธุรกิจของผู้รับประกันในประเทศ เช่น กรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ |
*** |
|
- ข้อตกลงเพิ่มเติมที่มีอยู่ในกรมธรรม์ประกันชีวิตบางแบบ ซึ่งมีเงื่อนไขจะจ่ายเงินเพิ่มจำนวนหนึ่ง หากผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมภายในระยะเวลาที่กำหนด |
*** |
|
- การเอาประกันภัยอุบัติเหตุที่ผนวกกับกรมธรรม์ประกันชีวิตเพื่อความคุ้มครองในกรณีที่ประสบอันตรายจากอุบัติเหตุ |
*** |
|
- จำนวนเงินส่วนเกินของทรัพย์สินที่มากกว่าหนี้สินของกิจการประกันภัย |
*** |
|
- การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผล ผู้เอาประกันภัยสามารถเวนคืนเงินปันผลที่สะสมไว้โดยที่กรมธรรม์ประกันชีวิตยังมีผลบังคับอยู่ต่อไป ผู้เอาประกันภัยจะขอรับเป็นเงินสด หรือจะใช้เพื่อจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายในอนาคตก็ได้ |
*** |
|
- ดู cash value |
*** |
|
- ใบรับรองที่แสดงว่า ผู้รับเงินได้ประจำยังคงมีชีวิตอยู่ |
*** |
|
- การประกันชีวิตที่มีข้อตกลงจ่ายเงินรายปี ในสัญญาจะระบุการจ่ายเงินรายปีหรือเงินได้ประจำให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่กรรม แต่ถ้าผู้รับประโยชน์ถึงแก่กรรมก่อนผู้เอาประกันชีวิตสัญญาเป็นอันสิ้นสุด สัญญาจ่ายเงินได้ประจำนี้จะจ่ายตราบเท่าที่ผู้รับประโยชน์มีชีวิตอยู่ เบี้ยประกันภัยจะต้องชำระต่อไปตราบเท่าที่ผู้เอาประกันชีวิตอยู่ เบี้ยประกันภัยจะต้องชำระต่อไปตราบเท่าที่ผู้เอาประกันชีวิตยังมีชีวิตอยู่หรือเมื่อผู้รับประโยชน์ถึงแก่กรรม กรมธรรม์จะไม่มีมูลค่าเงินสดหรือมูลค่าเงินกู้แต่หลังจากชำระเบี้ยประกันภัยระยะหนึ่งแล้ว เงินสำรองที่เกิดขึ้นจะนำมาใช้แปลงกรมธรรม์เดิมเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จของเงินรายปีสำหรับผู้มีชีวิตนี้ได้ |
*** |
|