|
|
- กรมธรรม์ประกันชีวิตส่วนใหญ่จะให้ความคุ้มครองหรือให้ผลประโยชน์เพิ่มเติมแก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยตกเป็นบุคคลทุพพลภาพอย่างสิ้นเชิงและถาวร โดยให้สิทธิแก่ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยต่อไป แต่กรมธรรม์จะมีผลบังคับตามปรกติจนกว่ากรมธรรม์จะสิ้นสุดตามกำหนด |
*** |
|
- ภัยสงครามถือว่าเป็นมหันตภัยดังนั้นกรมธรรม์ประกันภัยโดยทั่วไปจะมีเงื่อนไขยกเว้นความคุ้มครองจากภัยสงคราม |
*** |
|
- ระบบในการวัดผลงานของตัวแทน ซึ่งผู้รับประกันชีวิตที่ขายกรมธรรม์ประเภทอุตสาหะใช้เป็นมาตรการในการจ่ายผลตอบแทนแก่ตัวแทนในการเก็บเบี้ยประกันภัยรายสัปดาห์ |
*** |
|
- มีความหมายเหมือน industrial insurance |
*** |
|
- ตารางแสดงน้ำหนักเฉลี่ยของบุคคลในระดับความสูงต่างๆกัน ซึ่งอาจจะแยกเป็นตารางสำหรับเพศชายหรือเพศหญิงก็ได้ ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์ในการพิจารณารับประกันชีวิต ถ้าบุคคลใดมีน้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แสดงว่ามีการเสี่ยงภัยสูง ดังนั้นเบี้ยประกันภัยอาจจะต้องคิดเพิ่มขึ้นจากมาตรฐานปรกติ |
*** |
|
- เงินได้ประจำหรือเงินได้รายปีที่จ่ายให้แก่หญิงมีสามี ภายใต้แผนเงินบำนาญหลังจากที่สามีถึงแก่กรรมแล้ว (ใช้ในสหราชอาณาจักร) |
*** |
|
- 1.เงินผลประโยชน์จากการประกันสังคมที่รัฐจ่าให้แก่หญิงม่าย - 2.เงินผลประโยชน์จากการประกันสังคมของรัฐตามแผนเงินบำนาญที่จัดทำสำหรับผู้ทำงาน โดยจ่ายเงินบำนาญหรือเงินก้อนสำหรับหญิงม่าย |
*** |
|
- การประกันชีวิตแบบหนึ่งซึ่งสัญญาจะจ่ายเงินให้แก่หญิงม่ายเป็นประจำตลอดระยะเวลาที่ปลอดการได้รับเงินจากการประกันสังคมของรัฐ(ใช้ในสหรัฐอเมริกา) |
*** |
|
- ผู้รับประกันภัยจะไม่รับผิดในกรณีที่ความสูญเสียหรือเสียหายเกิดขึ้นจากความประพฤติผิดโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย |
*** |
|
- เอกสารที่ทำขึ้นตามแบบใดแบบหนึ่งดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนาจะมอบทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือหลายคนเมื่อตนเสียชีวิตลง |
*** |
|
- คำที่ใช้แสดงว่าในกรณีที่มีการจ่ายเงินได้ประจำ และผู้รับเงินได้ประจำถึงแก่กรรมก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายเงินได้ประจำครั้งต่อไป ผู้รับประกันภัยจะจ่ายเงินได้ประจำให้ตามส่วนของระยะเวลาที่มีชีวิตอยู่นับตั้งแต่ได้รับเงินได้ประจำงวดสุดท้าย |
*** |
|
- มีความหมายเหมือน non-participating policy (นิยมใช้ non-participating policy มากกว่า) |
*** |
|
- คำที่ใช้แสดงว่าหากผู้รับเงินได้ประจำถึงแก่กรรมก่อนถึงวันจ่ายเงินได้ประจำงวดใด ก็จะไม่ได้รับเงินได้ประจำสำหรับงวดนั้น |
*** |
|
- ช่วงชั้นความคุ้มครองในการประกันภัยต่อส่วนเกิน ที่คาดว่า จะมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนบ่อยครั้ง |
*** |
|
- การประกันภัยต่อส่วงเกินที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายในภัยที่คาดว่าจะเกิดขึ้นบ่อยๆซึ่งต่างกับความเสียหายที่อาจจะมีมากและนานๆจึงจะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง |
*** |
|